แบตเตอรี่ VARTA ถือกำเนิดขึ้นในประเทศ เยอรมันนี โดยบริษัทที่ชื่อว่า Büsche & Müller ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 และเป็นผู้คิดค้น และเจ้าของลิขสิทธิ์ โครงกริดแบตเตอรี่ ที่เรียกว่า พาวเวอร์เฟรม (PowerFrame) ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นโครงกริดที่มีคุณสมบัติดีเลิศ ในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดพิเศษ อย่างเช่น แบตเตอรี่ชนิด AGM และ EFB จนเป็นที่มาของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีรถยนต์ ที่ใช้เครื่องยนต์ระบบ STOP-START หรือระบบ ISS ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2552 มีการประมาณการณ์ว่า 80% ของรถยนต์ระบบ START-STOP ที่ถูกผลิตขึ้น ได้เลือกติดตั้งแบตเตอรี่ VARTA โดยผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆ
These Car Manufacturers Fit VARTA
Automotive
CITROËN
Commercial Vehicles
ISS คืออะไร?
รถยนต์ที่ติดตั้งระบบ ISS มักถูกเรียกว่า micro hybrid หรือ mild hybrid โดยได้มีการพัฒนาโดยผู้ผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระบบ ISS สามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่มีระบบเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติและเนื่องจากต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดทำให้จำนวนรถยนต์ที่มีระบบ ISS เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ระบบ ISS จะทำงานโดยการดับเครื่องยนต์เมื่อรถยนต์หยุดอยู่กับที่เช่น เมื่อติดไฟแดงหรือเมื่อรถติด และเครื่องยนต์จะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่อทำการปล่อยเบรคหรือเหยียบคันเร่ง
การแยกแยะว่ารถยนต์มีระบบ Idle Stop Start (ISS) หรือไม่
รถยนต์ที่มีระบบ ISS สามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่มีระบบเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ อาจไม่สามารถระบุได้ว่ารถยนต์มีเทคโนโลยี ISS โดยการเปิดดูเครื่องยนต์ที่กระโปรงรถเนื่องจากผู้ผลิตไม่ได้ทำการแสดงว่ารถยนต์ใช้ระบบ ISS ที่บริเวณชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์บางรายจะทำการติดตั้งเครื่องมือหรือแสดงสํญลักษณ์ระบบ ISS บนแผงหน้าปัดรถยนต์เพื่อให้สามารถเปิด-ปิดการใช้ระบบได้ตามต้องการ
เพื่อหลีกเลี่ยงการติดตั้งแบตเตอรี่ที่ไม่ถูกต้องหรือแบบธรรมดาเข้ากับรถที่เป็นระบบ ISS ให้ทำการตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้
หากท่านยังไม่มั่นใจให้ทำการสอบถามที่ศูนย์บริการ เพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์ของท่านเป็นระบบ ISS และได้ใช้แบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับรถยนต์ของท่านแล้ว
เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีประสิทธภาพสูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรดธรรมดาทั่วไป โดยมีการเพิ่ม Polyfleece Scrim ระหว่างแผ่นธาตุบวกและแผ่นกั้น โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของเนื้อเคมีกับโครงกริด ,การลดการกัดกร่อนของแผ่นธาตุ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน deep cycle และเพิ่มประสิทธิภาพ Charge acceptance
มีการเติมส่วนประกอบเพื่อลดการแยกชั้นของน้ำกรดและน้ำกลั่นภายในหม้อแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ Charge acceptance และเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
มีการใช้โครงกริดที่หนากว่าแบตเตอรี่ทั่วไปเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
EFB แบตเตอรี่ Vs แบตเตอรี่ธรรมดา (Conventional battery)
สำหรับการใช้รถยนต์ในเมืองของรถที่มีระบบ ISS อาจจะมีการหยุดและสตาร์ทเครื่องยนต์ประมาณ 1-2 ครั้งต่อ 1 กิโลเมตร ซึ่งอาจจะทำให้แบตเตอรี่ต้องทำงานหนักและแบตเตอรี่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องบางครั้งอาจจะมีการสตาร์ทเครื่องยนต์แม้แบตเตอรี่จะอยู่ในช่วงของการชาร์จไฟ
เนื่องจากแบตเตอรี่ทั่วธรรมดาไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ที่มีระบบ ISS เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้พลังงานและการทำงานของระบบดังกล่าว หากทำการนำแบตเตอรี่ธรรมดามาติดตั้งในรถยนต์ที่มีระบบ ISS อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าของรถยนต์และทำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรได้
แบตเตอรี่ที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ที่มีระบบ ISS ควรจะเป็นแบตเตอรี่สำหรับระบบ ISS โดยเฉพาะนั่นก็คือแบตเตอรี่ชนิด EFB หรือ AGM
อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่ชนิด EFB หรือ AGM ซึ่งออกแบบมาสำหรับรถยนต์ที่มีระบบ ISS สามารถนำมาใช้กับรถยนต์ทั่วไปซึ่งจะสามารถเพิ่มพลังในการสตาร์ทและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
แหล่งที่มาของข้อมูล:
https://www.centurybatteries.com.au/products/iss-active/idle-stop-start-(iss)-system-information
https://www.varta-automotive.com/en-gb/technology/efb-battery-technology
https://en.wikipedia.org/wiki/Start-stop_system
คุณประสงค์ กุศลส่ง (ที่ปรึกษาอาวุโส)
จัดทำโดย อรนงค์ เหลาทอง (หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนา)
ในรถยนต์ที่มีระบบ ISS แบตเตอรี่จะต้องสามารถรองรับกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการหยุดและการสตาร์ทเครื่องยนต์ รวมถึงการชาร์จไฟอย่างรวดเร็วและความต้องการพลังงานที่จำเป็นในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่เครื่องยนต์ดับเครื่อง แบตเตอรี่จะต้องสามารถจ่ายพลังงานที่จำเป็นในการสตาร์ทรถโดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีเมื่อทำการปล่อยเบรคหรือเหยียบคันเร่ง
แบตเตอรี่ธรรมดาไม่ได้ทำการถูกออกแบบมาเพื่อรถยนต์ที่มีระบบ ISS สำหรับรถยนต์ทั่วไปแบตเตอรี่จะทำงานเมื่อชาร์จไฟเกือบเต็ม และจะทำการหยุดและสตาร์ทเครื่องประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน พลังงานของแบตเตอรี่ที่ถูกใช้ไปจะถูกชาร์จกลับด้วยตัวกำเนิดไฟฟ้า ( alternator) ในระหว่างการเดินทางและแบตเตอรี่แบบธรรมดาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานอย่างต่อเนื่องหรือต้องถูกใช้งานในช่วงของการชาร์จไฟ